นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กรมอนามัย

(Privacy Policy)

             กรมอนามัยในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกรมอนามัย กรมอนามัยจึงได้กำหนด แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไว้ดังต่อไปนี้

  1. ขอบเขตการบังคับใช้นโยบายฉบับนี้

              นโยบายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานภายในสังกัดกรมอนามัยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

  2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครอง

    1. ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรหน่วยงานของกรมอนามัย

              เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของ ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างโครงการ ในสังกัดกรมอนามัย

    2. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มาติดต่องาน

              เป็นข้อมูลส่วนบุคลคลของ ผู้มาติดต่องาน สมัครงาน การทำธุรกรรม เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การส่งตรวจสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น การทำนิติกรรม เช่น การทำสัญญาว่าจ้าง สัญญาซื้อขาย รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานที่ทำสัญญา หรือทำงานให้กับกรมอนามัย

    3. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ

              เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มาติดต่อเพื่อรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ หน่วยบริการ สุขภาพของกรมอนามัย รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการกรณีที่บุคลากรของหน่วยบริการสุขภาพ ของกรมอนามัยออกไปให้บริการนอกหน่วยบริการในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และข้อมูลการใช้บริการสุขภาพทางดิจิทัล

  3. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด

              กรมอนามัยจะเก็บรวบรรมข้อมูลส่วนบุคคล "เท่าที่จำเป็น" สำหรับการให้บริการตามวัตถุประสงค์ ในการดำเนินงานของกรมอนามัย อย่างเคร่งครัด และกรมอนามัยจะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลก่อนหรือขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด และจะรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เป็นความลับตามเกณฑ์มาตรฐาน การกำหนดชั้นความลับของข้อมูลของกรมอนามัย

  4. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล

    1. กรมอนามัย จะเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการดำเนินงานในพันธกิจต่าง ๆ ของกรมอนามัย รวมทั้งเพื่อการศึกษาวิจัยหรือ การจัดทำสถิติที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของกรมอนามัย หรือตามที่กฎหมายกำหนด

    2. กรมอนามัย จะบันทึกวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ในขณะที่มีการรวบรวม และจัดเก็บ รวมถึงการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในภายหลัง และหากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการเก็บ รวบรวมข้อมูล กรมอนามัย จะจัดทำบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมไว้เป็นหลักฐาน หากมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ ตามที่เคยได้แจ้งไว้ กรมอนามัย จะแจ้งวัตถุประสงค์ใหม่นั้นให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบและได้รับ ความยินยอมก่อนเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย เว้นแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด

  5. การกำกับดูแลการเก็บรวบรวม ใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

    1. กรมอนามัย จะกำกับดูแลมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่หรือไม่ได้รับมอบหมายเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล นำไปใช้ประโยชน์ เปิดเผย แสดง หรือทำให้ปรากฏในลักษณะอื่นใดแก่บุคคลอื่น นอกเหนือวัตถุประสงค์ ที่ได้ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ ต้องขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด

    2. กรมอนามัย จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล โดยไม่มีฐานการประมวลผลข้อมูล โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น การเปิดเผยต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่กำกับดูแล รวมถึงในกรณีที่มีการร้องขอ ให้เปิดเผยข้อมูลโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

    3. กรมอนามัย อาจใช้เทคโนโลยีคุกกี้ (Cookies) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคล เกี่ยวกับการเข้าถึง การใช้งาน หรือการรับบริการผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของกรมอนามัย เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการเข้าถึง การใช้งาน หรือการรับบริการผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ของกรมอนามัย

  6. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล

              กรมอนามัย จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของไว้เป็นระยะเวลา ตราบเท่าที่วัตถุประสงค์ ของการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ยังคงมีอยู่ หลังจากนั้น กรมอนามัยจะลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูล ไม่สามารถระบุตัวตนได้ เว้นแต่กรณีจำเป็นต้องเก็บ รักษาข้อมูลต่อไปตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด หรือเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของกรมอนามัย หรือหากมีความจำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เพื่อความปลอดภัย เพื่อการป้องกันการละเมิดหรือการประพฤติมิซอบ หรือเพื่อการเก็บบันทึกทางการเงิน

  7. การโอนข้อมูลไปต่างประเทศ

              กรมอนามัย จะทำการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อผู้รับข้อมูลในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่กฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ทำได้เท่านั้น ทั้งนี้หน่วยงานของกรมอนามัยอาจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ การโอนข้อมูลระหว่างประเทศ โดยเข้าทำข้อสัญญามาตรฐานหรือใช้กลไกอื่นที่พึงมีตามกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองข้อมูลที่ใช้บังคับ และ หน่วยงานของกรมอนามั้ยอาจอาศัยสัญญาการโอนข้อมูล หรือกลไกอื่น ที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

  8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัย

              กรมอนามัย จะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการ ป้องกัน ด้านการบริหารจัดการ (Administrative Safeguard) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (Technical Safeguard) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (Physical Safeguard) ในเรื่องการเข้าถึงหรือควบคุม การใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (Access Control() เพื่อป้องกันการเข้าถึงและเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และสอดคล้องกับการดำเนินงานของกรมอนามัย

  9. การลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล

              กรมอนามัย จะดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บ หรือหมดความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้เพิกถอนความยินยอม เว้นแต่การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด

  10. การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูล

              กรมอนามัย จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงเท่านั้น และต้อง "ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล" เว้นแต่การเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด หากหน่วยงานของ กรมอนามัย จำเป็นต้อง "เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่น" ที่ไม่ใช่เก็บจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยตรง หน่วยงานของกรมอนามัย จะแจ้งเหตุผลความจำเป็นนั้นให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ เว้นแต่การ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้อง ขอความยินยอมตามที่กฎหมายกำหนด

  11. การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูล

              เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการดำเนินการ กับข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองที่กรมอนามัยดูแล ดังต่อไปนี้

    1. สิทธิในการขอรับข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง โดยเจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอรับสำเนาข้อมูล ส่วนบุคคลของตน และมีสิทธิที่จะร้องขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลของเจ้าของข้อมูล

    2. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองด้วยเหตุบางประการตามที่กฎหมายกำหนด

    3. สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล โดยขอให้กรมอนามัย ดำเนินการลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูล ส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยเหตุบางประการได้ตามที่ กฎหมายกำหนด

    4. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล โดยขอให้กรมอนามัยระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของ ตนเองด้วยเหตุบางประการตามที่กฎหมายกำหนด

    5. สิทธิขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยขอให้กรมอนามัย ดำเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

  12. การเปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนินการ แนวปฏิบัติและนโยบายที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

    1. กรมอนามัย มีการดำเนินการตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ กรมอนามัย โดย จะเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ https://pdpa.anamai.moph.go.th รวมทั้งหากมีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็จะดำเนินการเผยแพร่ผ่านช่องทางดังกล่าว รวมทั้งผ่านสื่อที่กรมอนามัยใช้เพื่อ การประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสมด้วย

    2. การดำเนินการแนวปฏิบัติ และนโยบายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ กรมอนามัย ประกาศใช้นี้ จะใช้เฉพาะสำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกิจการของ กรมอนามัยซึ่งรวมตลอดถึงการบริหารงาน การให้บริการ และการเข้าถึงเว็บไซต์ของ กรมอนามัย เท่านั้น หากผู้ใช้บริการมีการเชื่อมโยง (Link) ไปยังเว็บไซต์อื่นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมอนามัย ผู้ใช้บริการจะต้องศึกษาและปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ปรากฏในเว็บไซต์อื่นนั้นแยกต่างหากจากกรมอนามัยด้วย

  13. ช่องทางการติดต่อ

    เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO : Data Protection Officer)

    กองแผนงาน กรมอนามัย

    อาคาร ๕ ชั้น ๔

    ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐.

    อีเมล์ [email protected]